IMF แนะแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย พร้อมเสริมแกร่งด้านการคลัง

2025-02-25 HaiPress

IMF แนะนำแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม ช่วยความสามารถชำระหนี้ของผู้กู้ พร้อมเสริมแกร่งด้านการคลัง

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงาน IMF Executive Board Concludes 2024 Article IV Consultation with Thailand โดยระบุว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยยังคงดำเนินต่อไป แต่ค่อนข้างช้าและไม่สม่ำเสมอ ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวโดยพอประมาณในปี 2567 ซึ่งขับเคลื่อนโดยการบริโภคภาคเอกชนและการฟื้นตัวของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ขณะที่กระบวนการงบประมาณที่ล่าช้า ทำให้การลงทุนของภาครัฐชะลอตัว

การฟื้นตัวของไทยที่ช้ากว่าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เป็นผลมาจากจุดอ่อนเชิงโครงสร้างที่มีมายาวนานของประเทศไทย ขณะที่แรงต้านภายนอกและภายในประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ ยังส่งผลต่อเงินเฟ้อที่ลดลงอีกด้วย ขณะที่แนวโน้มทางเศรษฐกิจก็ยังคงไม่แน่นอนอย่างมาก พร้อมความเสี่ยงด้านลบสำคัญ

นโยบายการคลังควรเน้นไปที่การสร้างพื้นที่ทางการคลังใหม่ (Rebuilding Fiscal Space) โดยการใช้จุดยืนทางการคลังแบบขยายตัวลดลง (A Less Expansionary Fiscal Stance) จากที่คาดการณ์ไว้ภายใต้ปีงบประมาณ 2568 จะยังคงสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอยู่ ขณะที่ยังจะช่วยรักษาพื้นที่ทางการคลังไว้ด้วย

IMF ระบุว่า เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2569 จำเป็นต้องมีการรัดเข็มขัดทางการคลังระยะกลางตามรายได้ (Revenue-Based Medium-Term Fiscal Consolidation) เพื่อลดหนี้สาธารณะและสร้างกันชน (Buffer) ทางการคลังใหม่

กรอบการคลังของไทย สามารถเสริมความแข็งแกร่งได้มากกว่านี้ โดยไทยอาจจะต้องมีการเสริมความแข็งแกร่งของกฎเกณฑ์ทางการคลังต่างๆ และควรคำนึงถึงต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินมาตรการกึ่งทางการคลังต่างๆ อาทิ การกำหนดเพดานราคาพลังงาน อย่างเหมาะสมด้วย รวมทั้งควรติดตามความเสี่ยงทางการคลังอย่างใกล้ชิด ไปจนถึงการปรับปรุงการจัดเตรียมข้อมูลสถิติการเงินของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจเป็นสิ่งสำคัญ

นอกจากนี้ IMF แนะนำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนเงินเฟ้อ และปรับปรุงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ (Debt-Servicing Capacity) เนื่องจากมองว่ามีความเสี่ยงจำกัดที่การกู้ยืมจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางการให้สินเชื่อที่เข้มงวด และจากแนวโน้มความไม่แน่นอนที่สูง ทางการควรพร้อมที่จะปรับจุดยืนนโยบายการเงินตามข้อมูลและแนวโน้ม (Data and Outlook-Dependent Manner) ด้วย

“ความเป็นอิสระของธนาคารกลาง พร้อมการสื่อสารนโยบายที่ชัดเจน ถือเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของนโยบายการเงินในการยึดโยงกับคาดการณ์เงินเฟ้อ”

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

TPQI Fair 2025 คึก!คนแห่ค้นหาอาชีพที่ตอบโจทย์

05-19

ฟ้องด้วยภาพ! ‘เอกนัฏ’ อึ้ง! เหล็ก ‘ซิน เคอ หยวน’ โผล่คาซากโรงงานถล่ม

05-19

ท่องเที่ยวไทยทรุด เหตุปัจจัยลบหลายด้าน เสี่ยงหดตัวครั้งแรกในรอบ 3 ปี

05-19

สคร.ประเมิน DAD ได้ 5 คะแนนเต็ม ด้านการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และผลงาน

05-19

‘ดุสิต’ ตอบแล้ว? ปัญหาศึกสายเลือด ชี้! ไม่สะเทือนธุรกิจ

05-19

ฉงชิ่งโซคอนฯ ตั้ง Edison EV ขายรถDFSK ผู้เดียวในไทย

05-19

ค้าภายในจับมือเต่าบิน รับซื้อผลไม้สดเกษตรกร 1 ล้านกิโล ปั่นสมูทตี้ขายผ่านตู้เต่าปั่น

05-19

“ศุภชัย”นำกลุ่มซีพีจับมือ “GIP” เร่งเครื่องโครงสร้างพื้นฐานนำไทยสู่ระดับโลก

05-19

‘พิชัย’ หารือรัฐมนตรีการค้าอาเซียนผนึกกำลังรับมือความท้าทายเศรษฐกิจโลก

05-19

ปลัดคลัง แจงดราม่า กยศ. ชี้ก.ม.ใหม่ช่วยคนลดหนี้ แนะเช็กยอดผ่านเว็บ ปรับโครงสร้างช่วยหนี้ลดจริง

05-19

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap