ธุรกิจโมเดิร์นเทรดปี 68 ความท้าทายหนี้สูง-เศรษฐกิจชะลอตัว

2025-05-07 IDOPRESS

ส่องธุรกิจโมเดิร์นเทรดปี 2568 เจอความท้าทายหนี้ครัวเรือนสูง เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ท่ามกลางความขัดแย้งสงครามการค้า

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ประเมินกลุ่มธุรกิจโมเดิร์นเทรด ในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่องท่ามกลางความท้าทายของเศรษฐกิจไทย โดยระบุว่า ภายหลังจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลงในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ร้านค้าปลีกประเภทโมเดิร์นเทรด มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่ายังต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านกำลังซื้อจากภาวะหนี้ครัวเรือนและค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง

โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 และในปี 2568 ยังได้อานิสงส์ชั่วคราวจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเติบโตของธุรกิจโมเดิร์นเทรด ในปี 2567 อยู่ที่ 5% และคาดว่าจะเติบโตราว 4.6% ในปี 2568

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจค้าปลีกยังมีแนวโน้มต้องเผชิญกับความท้าทายจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงซึ่งเป็นปัจจัยฉุดรั้งกำลังซื้อของผู้บริโภค รวมถึงต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้นและการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจากช่องทางออนไลน์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและความคาดหวังของผู้บริโภคที่มากขึ้นจากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อความต้องการสินค้าและบริโภคของผู้บริโภค

นอกจากนี้ ธุรกิจยังต้องเผชิญความท้าทายจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน

ทั้งนี้ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากช่องทางออนไลน์ รวมทั้งความท้าทายจากการปรับกลยุทธ์การเติบโตให้สอดรับกับเทรนด์ ESG โดยการแข่งขันที่รุนแรงมาจากทั้งกลุ่มร้านค้าประเภทเดียวกันและร้านค้าออนไลน์ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องหันมาให้ความสำคัญกับการขายสินค้าผ่าน Omnichannel ทั้งหน้าร้านควบคู่กับออนไลน์มากขึ้น

ขณะเดียวกัน ยังได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการร้านค้าและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค และเทรนด์ ESG ยังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ จากการผลักดันของภาครัฐ ตลอดจนการให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของผู้บริโภค สะท้อนได้จากการตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริม Circular economy ตลอดจนการให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสังคมและธรรมาภิบาลและการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส รวมไปถึงการเพิ่มสัดส่วนของสินค้าที่มีความยั่งยืนมากขึ้น

อย่างไรก็ดี แม้ว่าผู้บริโภคจะให้ความสนใจในสินค้าที่มีความยั่งยืนมากขึ้น แต่ราคาที่ค่อนข้างสูงและตัวเลือกในตลาดที่น้อยยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงสินค้ากลุ่มนี้ ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มเพื่อกระตุ้นยอดขายและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ล่าสุด

TPQI Fair 2025 คึก!คนแห่ค้นหาอาชีพที่ตอบโจทย์

05-19

ฟ้องด้วยภาพ! ‘เอกนัฏ’ อึ้ง! เหล็ก ‘ซิน เคอ หยวน’ โผล่คาซากโรงงานถล่ม

05-19

ท่องเที่ยวไทยทรุด เหตุปัจจัยลบหลายด้าน เสี่ยงหดตัวครั้งแรกในรอบ 3 ปี

05-19

สคร.ประเมิน DAD ได้ 5 คะแนนเต็ม ด้านการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และผลงาน

05-19

‘ดุสิต’ ตอบแล้ว? ปัญหาศึกสายเลือด ชี้! ไม่สะเทือนธุรกิจ

05-19

ฉงชิ่งโซคอนฯ ตั้ง Edison EV ขายรถDFSK ผู้เดียวในไทย

05-19

ค้าภายในจับมือเต่าบิน รับซื้อผลไม้สดเกษตรกร 1 ล้านกิโล ปั่นสมูทตี้ขายผ่านตู้เต่าปั่น

05-19

“ศุภชัย”นำกลุ่มซีพีจับมือ “GIP” เร่งเครื่องโครงสร้างพื้นฐานนำไทยสู่ระดับโลก

05-19

‘พิชัย’ หารือรัฐมนตรีการค้าอาเซียนผนึกกำลังรับมือความท้าทายเศรษฐกิจโลก

05-19

ปลัดคลัง แจงดราม่า กยศ. ชี้ก.ม.ใหม่ช่วยคนลดหนี้ แนะเช็กยอดผ่านเว็บ ปรับโครงสร้างช่วยหนี้ลดจริง

05-19

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 โพสต์ตอนเช้าไทย      ติดต่อเรา   SiteMap