2025-05-19 IDOPRESS
สภาพัฒน์ ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 68 คาดขยายตัวเพียง 1.8% จากพิษสงครามการค้าสหรัฐ มาตรการภาษีทรัมป์ ลุ้นมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เข้าถึงสภาพคล่อง รักษาการจ้างงาน ส่วนการแจกเงินดิจิทัล เฟส 3 ช่วยได้น้อยมาก
🔊 ฟังข่าว
⏸️ หยุดชั่วคราว
🔄 เริ่มใหม่
วันที่ 19 พ.ค. นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปี 2568 ขยายตัวได้ 3.1% จากการเร่งนำเข้าสินค้าของประเทศต่างๆ เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐ และทำให้การส่งออกไทยขยายตัวเร่งขึ้น
สำหรับ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดว่าจะขยายตัว 1.3-2.3% หรือค่ากลาง 1.8% จากเดิมคาด 2.3-3.3% หรือค่ากลาง 2.8% โดยคาดว่าการอุปโภคบริโภคจะขยายตัว 2.4% และการลงทุนภาคเอกชนลดลง 0.7% ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัว 1.8% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.0-1.0% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.5% ของจีดีพี
ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยปี 2568
การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายลงทุนภาครัฐ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชนอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง
ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยปี 2568
ข้อจำกัดจากภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2568
ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก และผลกระทบจากการดำเนินมาตรการทางการค้าของสหรัฐ รวมทั้งความเสี่ยงจากความผันผวนในภาคเกษตร
นายดนุชา กล่าวว่า การประมาณการเศรษฐกิจทั้งปี 2568 ขยายตัว 1.8% อยู่ระดับต่ำกว่าหลายสำนักเศรษฐกิจนั้น สศช.ได้พิจารณาจากตัวเลขอื่นประกอบ และสถานการณ์เจรจาการค้ากับสหรัฐ ซึ่งในรายละเอียดมีหลายเรื่องที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม ในการประมาณการเป็นเครื่องชี้ช่วยให้ธุรกิจและประชาชน ตระหนักเรื่องเศรษฐกิจในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ไม่ได้มองแง่ร้ายมาก เพราะการคาดการณ์ของสำนักอื่นในต่างประเทศมองไทยอยู่ในช่วงนี้เช่นเดียวกัน โดยเรื่องนี้อาจปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ยืนยันไม่ได้มองแง่ร้าย เป็นไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและมองอนาคต และได้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีปัญหามากตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป
“เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ยังไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐ แต่ช่วงต่อไปผันผวนมากขึ้น ทั้งการค้า อัตราแลกเปลี่ยน เศรษฐกิจชะลอตัว จึงขอให้ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ เตรียมตัวรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น และประชาชนให้เตรียมความพร้อมเรื่องการใช้จ่ายประจำวัน คงต้องรอบคอบมากขึ้น เพื่อทำให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้”
ส่วนมาตรการของทางรัฐบาลมีแนวทางช่วยเหลือหลายเรื่อง นอกจากมาตรการซอฟต์โลนที่ได้ออกไปก่อนหน้านี้ โดยมาตรการที่ออกมาอาจจะคล้ายกับช่วงโควิด ที่เพิ่มการเข้าถึงสภาพคล่อง เพื่อเป็นการรักษาการจ้างงาน ซึ่งอยู่ระหว่างหารือกับทั้งกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะออกมาตรการมาเพิ่มเติมและคาดว่าจะออกมาได้เร็วกว่าเดิม
ขณะที่การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ในเฟส 3 กลุ่มอายุ 16-20 ปี คาดจะแจก 2.7 ล้านคน วงเงิน 27,000 ล้านบาท จะออกมาช่วยเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหนนั้น มองว่าช่วยได้เป็นส่วนน้อยมาก ทำให้รอดูมาตรการที่ออกมาว่ามีอะไรบ้าง
นอกจากนี้เรื่องการเพิ่มช่องว่างทางการคลังนั้น ต้องดูในเรื่องการจัดเก็บรายได้ที่เพิ่มขึ้น ดูวินัยการเงินการคลังเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาช่องว่างทางการค้าที่มีอยู่ ในช่วงต่อไปการใช้จ่ายเป็นไปด้วยความระมัดระวัง ส่วนมาตรการการเงินที่อาจเข้ามาช่วยได้นั้นต้องเป็นทาง ผู้ว่าการ ธปท. กับ รมว.คลัง ที่จะต้องพูดคุย ว่า ทั้งมาตรการการคลัง และมาตรการการเงิน จะมาเสริมกันในช่วงเวลาไหนเท่านั้น
05-19
05-19
05-19
05-19
05-19
05-19
05-19
05-19
05-19
05-19